All posts by narapat

ก็บังเอิญต้องทำงานเกี่ยวกะ sharepoint แล้วก็ ขอบเขียน blog แถมยังชอบรู้จักคนเยอะๆ ก็เท่านั้น

สำรองข้อมูล และ กู้กลับ ระดับ subsite ด้วย export \import

หลังจากที่คราวที่แล้วเราได้จัดการตั้งเวลาการสำรองข้อมูล wss ไปเรียบร้อย แต่จะเห็นได้ว่า การสำรองข้อมูลของ wss ด้วยคำสั่ง backup นั้นทำในระดับ site collection ซึ่งบางครั้งเราต้องการจะสำรองข้อมูล แค่ ระดับ Sub site เท่านั้นซึ่งประโยชน์ นอกจากนี้เรายังสามารถ นำไปประยุกต์ใช้ ในการ Migrate Sub Site ที่เรา สร้างขึ้น จาก Development ไป UAT และย้ายไป Production ได้ด้วย

เมื่อเห็นประโยชน์ดังนี้แล้ว จะช้าอยู่ใย มาดูกันดีกว่าว่า คำสั่งหน้า หน้าตาเป็นยังไง

คำสั่ง แรก export เพื่อสำรองข้อมูลออกก่อน

stsadm -o export -url “http://sharepoint/subsite/subsubsite” -filename “subsubsite.bak” -nofilecompression -quiet [-includeusersecurity]

โดยจากที่ผมทดลอง ควรจะใส่ -nofilecompression และ -quiet ไว้ด้วยครับ เพราะโดย default การใช้คำสั่ง export จะ บีบอัดให้ด้วยซึ่ง ขึั้นตอนการบีบอัดนี่เอง ที่จะมีปัญหา ในกรณีที่ subsite เรามี ไฟล์ขนาดใหญ่มากๆ เก็บอยู่ (ของผม user เล่น upload .iso ขึ้นไป เศร้าใจนัก) ส่วน -quite ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิ์ภาพ ในการ export ได้เร็วขึ้น เพราะไม่ต้องแสดงผล และ สถานนะการ export นั่นเอง

ส่วน -includeusersecurity  ที่ใส่ [ ] เอาไว้เพราะว่า จะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ครับ ถ้าใส่ก็จะมี  permission ต่างๆที่เราใส่ไว้ติดไปด้วย ก้อเท่านั้นเอง

ต่อเลยดีกว่า คำสั่งต่อไป import เพื่อ เอาไฟล์ ที่เรา export มาไปใช้ครับ คำสั่งก็หน้าตาแบบนี้

stsadm -o import -url “http://sharepoint/subsite/subsubsite” -filename “subsubsite.bak” -nofilecompression -quiet [-includeusersecurity]

หน้าตาเหมือนกันหยั่งกับแกะ แต่ parameter ของ -url ไม่จำเป็นต้องเป็น site เดิมก็ได้นะครับ ง่ายมาก

แต่…   ชีวิตไม่ได้ง่ายขนาดนั้นครับ ถ้าสมมติว่า ใน subsite ที่เราสำรอง มีการ install อะไรเพิ่มเติมไว้ ก็ต้องจัดการให้มีก่อนด้วยนะครับ ไม่งั้นงานอาจจะเข้าได้

รายละเอียดคำสั่ง จริงแล้วก็มีอยู่ใน MS TechNet ตามลิงค์นี้ครับ

export – http://technet.microsoft.com/en-us/library/cc262759.aspx

import – http://technet.microsoft.com/en-us/library/cc261866.aspx

วันนี้ฝากไว้เท่านี้ก่อนนะครับ เหมือนเดิมครับ สงสัยตรงไหน หรือผมเขียนแล้วงง ก็สอบถามเพิ่มเติมได้ครับผม

สวัสดี

LinkedInFlipboardEmailOutlook.comPrintFriendlyWhatsAppYahoo BookmarksYahoo MessengerKindle ItGoogle BookmarksBaiduDeliciousShare

เมื่อ SharePoint โดนป่วน จาก DCOM error

วันนี้มาถึงที่ทำงานแต่เช้า (จริงๆก็ไม่เช้าเท่าไหร่ แต่เอาเป็นว่ามาถึงก่อนที่อะไรจะสายเกินไป) และแน่นอนว่าพอเปิดเครื่องปุ๊บ ก็ต้องเปิด facebook ก่อน แป่ว ไม่ใช่ๆ เปิด intranet ที่ทำไว้เพื่อดูความสงบเรียบร้อยบางอย่าง และแล้วเรื่องที่ไม่คาดฝัน ก็เกิดขึ้น

This page has encountered a critical error. Contact your system administrator if this problem persists.

น่าน… โดนเข้าแล้ว งานเข้าแต่เช้า ไม่ต้องติดต่อแล้ว admin เพราะตูนี่แหละ admin จัดแจงเปิด Event log ดูก่อน แล้วก็ไปสะดุดตาที่ System Log มี error แบบนี้

The application-specific permission settings do not grant Local Activation permission for the COM Server application with CLSID
{61738644-F196-11D0-9953-00C04FD919C1}
to the user DOMAIN\ServiceAccount SID (S-1-5-21-1776335886-2898880088-2153249584-11406).  This security permission can be modified using the Component Services administrative tool.

อืม.. ตอนแรกอ่านไปก็งงๆ ว่า แล้วยังไง ป่อย -_-‘  มืดบอดมาก (อ้อ Log นี้เปิดจากเครื่องที่ลง sharepoint นะครับ เป็น Windows 2003 R2)

จะพึ่งใครได้ นอกจาก อากู๋  Google แล้วก็ไม่ผิดหวัง (วิธีแก้ปัญหาอยู่ ลิงค์ด้านล่าง เป็นภาษาอังกฤษนะคับ รูดเมาส์ผ่านไปได้เลย) ใครไม่ค่อยถูกกับภาษาอังกฤษ ก็ทนอ่านต่อไป

พออ่านๆ ไปแล้วก็เห็นว่าเออ ใน log พูดถึง Administrative tool แต่ด้วยความอ่อนด้อยเพราะไม่ค่อยคุ้นกับ windows server เท่าไหร่ ก็เลย ไม่เคยรู้ว่า มันมี Component Services ด้วย หึหึหึ

ว่าแล้วก็บรรจงเปิดขึ้นมา (ทำไมต้องบรรจง) แล้วก็ก๊อบ CLSID ที่ทำตัวแดงๆ ไว้  แล้วยังไงหละ

กด Windows + R  เรียก textbox เทพ ขึ้นมา ส่วนใครไม่เคยใช้มันก็คือ Start -> Run นั่นแหละ แล้วก็ ค่อยๆพิมพ์ “regedit” ลงไปในช่องกด “Ok” ใช่แล้ว ทุกๆอย่างมันควรเก็บไว้ในนี้แหละ แล้วเราก็เอา CLSID ลองค้นๆดู ก็ได้มาว่ามันคือ IIS WAMREG admin Service นั่นเอง

สงสัยเป็นเพราะเมื่อวานล้างรถ บุญเลยส่ง ให้เจอ service ตัวนี้ พอดี (ไม่เห็นจะเกี่ยวตรงไหน T T) ก้อเปิด properties ดู ไล่ทีลแท็บ (อันนี้ถึกได้) แล้วก็ไปเจอ Security เห็นมีช่องนึง บอกว่า “Lauch Activation Permission”  แล้วมันเลือกอยู่ที่ custom เรยกด edit เข้าไปดู มาถึงตรงนี้ ยอมรับว่า เดาอะ เพราะเราไม่เห็น DOMAIN\ServiceAccount อยู่ใน list แล้วด้านล่างก็มี  Local Activation พอดี เรยจัดการ add DOMAIN\ServiceAccount แล้วก็ ติ๊ก Local Activation ลงไปซะ แล้วก็ไป restart IIS service หนึ่งครับ พร้อม ภาวนา

กลับมา กลับมา กลับมา

แล้วก็ลองเข้าหน้าเว็บ intranet ใหม่ อิอิ มันมาแล้ว สบายใจ

ที่เขียนมาทั้งหมด ถ้าตัดความไร้สาระออกไป จะเหลือแค่ครึ่งเดียว และ เดี๋ยวก่อนวิธีการนี้ไม่ได้คิดเองครับ แต่ไปเจอจากที่นี่ครับ The application-specific permission settings do not grant Local Activation permission for the COM Server application with CLSID – MOSS / SharePoint 2007 Server Issues Revisited

นาย Mike ยังบอกอีกว่า วิธีการนี้ ไม่เพียงแต่ใช้แก้ปัญหาบน sharepoint เท่านั้นนะครับแต่ใช้แก้ปัญหา เวลามี DCOM error ขึ้นอยู่ใน system log ได้ด้วย

ค่อยข้างจะออก ทาง Admin/ IT Pro พอสมควร แต่ถ้าเราชาว Dev รู้ไว้บ้างก็จะดีไม่ใช่น้อย

สวัสดี

LinkedInFlipboardEmailOutlook.comPrintFriendlyWhatsAppYahoo BookmarksYahoo MessengerKindle ItGoogle BookmarksBaiduDeliciousShare

ตั้งเวลาสำรองข้อมูล กับ wss3.0

สวัสดีครับ

สำหรับคนที่ยังไม่คุ้นเคยกับการใช้งาน windows sharepoint service 3.0 (WSS3.0) ผมขอเกริ่นนำก่อนนะครับว่า WSS3.0 มีระบบการ สำรองข้อมูลมาให้ด้วยโดยจะมี wizard ง่ายๆ ผ่านหน้าเว็บ โดยมีขึ้นตอนดังนี้

  1. สร้าง shared folder รอไว้ก่อน โดยจะต้องให้สิทธิ์ ในการ write ด้วยนะคับ ถ้าจะให้ได้ แน่นอน ให้ กำหนด everyone แต่ไม่แนะนำให้ทำแบบนั้น
  2. เข้าไปที่ หน้า Central Administration ที่ แท็บ Operations ในส่วนของ Backup and Restore
  3. เลือก Perform a backup เพื่อทำการสำรองข้อมูล
  4. เลือกระดับ ที่จะสำรองข้อมูล ซึ่ง มีอยู่ สี่ระดับ ง่ายๆ คือ
    1. Farm – อาจจะมี server 1 หรือมากกว่าก็ได้ ซึ่ง backup ของ sharepoint ไม่ได้มองเป็น server แต่ดูที่ service
    2. Web Applications Collection – ซึ่ง ใน หนึ่ง colletion อาจจะมีหลาย web applicatoin ได้
    3. Web Appliction – ถ้ามองง่ายๆ คือ หนึ่ง site ครับซึ่งจะมี database content เดียวหรือมากกว่า แล้วแต่การออกแบบ แต่ชั้นนี้จะรวมถึงค่า config ของ web application ด้วย
    4. Content databaes – ในนี้จะมีแต่ ด้าต้าล้วนๆคับ
  5. พอเราเลือกได้แล้วก็กด continue to backup options
  6. จะมีช่องให้เรากรอก ข้อมูลของ path ที่เรา ทำให้ในข้อ 1. แล้วก็มีให้เลือกว่า จำสำรองแบบ สำรองทั้งหมด (full backup)  หรือ ส่วนที่แตกต่างจากการสำรองทั้งหมดครั้งล่าสุด (Differential backup) ซึ่งนั่นก็คือ ถ้าเป็นการสำรองข้อมูลครั้งแรก ยังไงก็ต้องทำ full backup ครับ
  7. หลังจากนั้นก้อให้กด OK แล้วก็รอ

แต่

เราต้องทำแบบนี้ทุกวันเหรอ?  เวลาเรา backup ส่วนใหญ่เราก็จะทำ schedule backup นี่หน่า หรือว่า wss3.0 ทำไม่ได้?

คำตอบคือ ทำได้ครับ แต่ว่าต้องทำผ่าน command line แล้วจับ commandline ไปทำ batch file (.bat) อีกที แล้วก็จัดการใช้ schedule ใน Windows เรียก batch file ให้ทำงาน โดยคำสั่งจะใช้แบบนี้

stsadm -o backup -directory \\ServerName\BackupPath\  -backupmethod full -item “Item Name

พอหลังจากเรา ทดสอบจนพอใจแล้วว่า สำรองข้อมูลถูกที่ถูกทาง เราก็จัดการสร้าง batch file ขึ้นมา มีโค๊ดด้านในดังนี้

@echo off

FOR %%A IN (%Date:/=%) DO SET Today=%%A

set LogFileName=BackupLog_%today:~0,8%.txt

rem echo %LogfileName%

echo ===============================================================

echo Back up sites for the farm to \\Servername\BackupPath\

echo ===============================================================

@echo off

stsadm -o backup -directory \\Servername\BackupPath\ -backupmethod full -item “Item Name” >> %LogfileName%

echo completed

แล้ว save เป็น FullBackup.bat เท่านี้เราก็ตั้งเวลาในการ backup แบบสบายๆ

สงสัยตรงไหนก็ถามกันมาได้นะครับ

สวัสดี

LinkedInFlipboardEmailOutlook.comPrintFriendlyWhatsAppYahoo BookmarksYahoo MessengerKindle ItGoogle BookmarksBaiduDeliciousShare

SharePoint – น่าใช้ หรือ ไว้ก่อน

หลังจากลงเรื่องเทคนิคของ sharepoint มานิดหน่อยคราวนี้เรามาดูกันในมุมของการนำไปใช้จริงบ้างครับว่า จริงๆแล้วว่าเมื่อไหร่ sharepoint ถึงจะน่าใช้ แล้วเมื่อไหร่ถึงจะเก็บมันไว้ก่อน

คงไม่พ้นที่จะต้องสมมติหละคับ ถ้าคุณอยู่ในสภาพแวดล้อม แบบนี้

  • เป็นองกรค์ ที่มี Windows เป็นเส้นเลือดของ IT บริษัท
  • ต้องการระบบที่ทำงานร่วมกับ MS Office ได้โดยไม่ต้องคิดมาก
  • มีบุคลากรอย่างน้อยหนึ่งคนสำหรับระบบนี้ พร้อมกับเวลาอีกพักใหญ่ๆ
  • ต้องการ ระบบการจัดการเอกสาร (โดยเฉพาะพวก MS Office) ที่มีระบบควบคุมเวอร์ชั่น มีการเช็คอินเช็คเอ้าท์เอกสารเพื่อนนำไปแก้ไข
  • ต้องการเว็บของ ทีมแบบง่ายๆ เพื่อแบ่งปันข้อมูล
  • อยากได้ระบบที่ได้ชื่อว่า มีคนรับผิดชอบ คือ Microsoft
  • ใช้ Sharepoint เถอะครับ เงินน้อย ใช้ windows sharepoinะ service เงินเยอะใช้ microsoft office sharepoint server (แต่ต่อไปจะกลายเป็น Microsoft Sharepoint Server เฉยๆ แล้ว เนื่องจากเริ่มดัง เลยแยกวง)

โดยการออกแบบ sharepoint ค่อยข้างจะมีครบทุกเกือบทุกอย่าง สำหรับการสร้าง intranet เล็กๆขึ้นมา แต่… ด้วยความที่มันถูกสร้างมาแบบกลางๆ แล้วก็จาก นิยามที่ใครๆ บอกว่า sharepoint ไม่ใช่ระบบสำเร็จรูป แต่เป็น ระบบกึ่งสำเร็จรูป ต่างหาก ซึ่งแน่นอนว่า ถ้ากินแบบ ไม่ใส่น้ำร้อน ก็คงขาดคุณค่าทางอาหาร แล้วก็ท้องอืด ทรมานในกาลต่อมาแน่นอน

แต่ถึงจะบอกว่า เป็นระบบกึ่งสำเร็จรูป แต่มันก็ไม่ได้ง่าย เหมือ ใส่น้ำร้อนปิดฝา แล้วรอ สามนาที เพราะว่าการที่จะ implement sharepoint ได้ค่อนข้างต้องใช้ความรุ้หลายอย่าง จนบางครั้งท้อใจว่า คิดถูกหรือผิดที่เอามาใช้

แต่อย่างไรก็ตาม ผมว่า ถ้าคุณไม่รู้จะเริ่มจากอะไร หรือว่า ไม่รู้ว่าจะหา opensource อะไรมาใช้งาน แล้วถ้ามี windows server อยู่แล้วด้วย ก็ไม่น่าจะเสียหายที่จะเอา window sharepoint service มาใช้งานนะครับ

ลองมาคุยกันครับ

สวัสดี

LinkedInFlipboardEmailOutlook.comPrintFriendlyWhatsAppYahoo BookmarksYahoo MessengerKindle ItGoogle BookmarksBaiduDeliciousShare

สร้าง Custom List บน sharepoint : Export Excel ไปเป็น Sharepoint List

จากคราวที่แล้ว ได้ลองใช้ add-in ของ excel ในการสร้าง List บน sharepoint ไปแล้ว คราวนี้ ถ้าเกิดว่าเราไม่ต้องการ ที่จะ อัพเดท sharepoint List ด้วย excel อีกต่อไปหละ แล้วเหตุใดจึงต้องทำให้มัน sync ด้วยการเอา add in มาลงด้วย

นั่นสิ ทำไม ๆ

คิดได้ดังนั้นแล้วเราก็ มาใช้ Export feature บน excel เองเลยดีกว่า ทำตามขั้นตอนเลยครับผม

  1. เปิดไฟล์ลูกค้าขึ้นมาเหมือนเดิม
    CustomList_1
  2. เลือกข้อมูลที่ต้องการไปทำ sharepoint list แล้วไปที่ “Insert”->”Table”
    CustomList_1_2
  3. จะมี Dialog box ขึันมาถามเพื่อยืนยันเขตข้อมูลอีกครั้งถ้าใช่ก็ “OK” ถ้าไม่ใช่ ก็เลือกใหม่
    CustomList_1_3
  4. แค่นี้เราจะได้ตารางข้อมุลที่เอาไว้ทำ list ดังภาพ
    CustomList_1_4
  5. เราจะเห็นปุ่ม Export อยู่ใน Ribbon บรรจงกดลงไปแล้ว  เลือก “Export the data o sharepoint List”
    CustomList_1_5
  6. จะมี dialog box มาให้เราใส่ url ของ sharepoint site แล้วก็ ชื่อ ของ list ที่เราต้องการพร้อม คำอธิบาย อีกทั้งยังมีปุ่มออฟชันให้เลือกได้ว่า จะกำหมดให้อ่านได้อย่างเดียวหรือไม่ กรอกเสร็จแล้วก็ กด “Next” ในทันที
    CustomList_1_6
  7. หลังจากนั้นก็จะมี dialog box มาถามให้เราดู (ย้ำว่าดูอย่างเดียว ทำไรต่อไม่ได้) ว่า ชนิดข้อมูลถูกต้องหรือไม่ (ถ้าไม่ถูกก็กลับไปแก้)ให้ถูก (คือเริ่มใหม่แต่ต้นนั่นแหละ แป่วว)
    CustomList_1_7
  8. หลังจากกด “Finish” แล้ว ก็จะมี message box มาบอกว่า สร้าง sharepoint list ให้เรียบร้อยแล้ว  ถ้าอยากดูก็ไปที่ link ที่แสดง แบบนี้
    CustomList_1_8
  9. แต่ว่าไม่อยากดูตอนนี้ เลยจบแล้วครับ
LinkedInFlipboardEmailOutlook.comPrintFriendlyWhatsAppYahoo BookmarksYahoo MessengerKindle ItGoogle BookmarksBaiduDeliciousShare