Category Archives: เกร็ดและเทคนิค

สร้าง report จาก external database ไม่ง้อ BDC : 1 ภาคเตรียมพร้อม

Feature ที่ทำให้ MOSS2007 แตกต่างจาก WSS3.0 นั้น ตัวหนึ่งคงหนีไม่พ้น BDC หรือ Business Data Catalog ที่ช่วยให้เรา สามารถนำข้อมุลที่อยู่ใน ระบบอื่น หรือฐานข้อมุลอื่นๆ มาแสดงบน SharePoint ได้ โดยหน้าตาที่ได้ก็โอเค

จริงๆแล้วในตัว WSS3.0 เองทำไม่ได้หรอกคับ แต่เนื่องจาก ไมโครซอฟต์แจกของดี ที่หายากเอาไว้ นั้นก็คือ SQL Reporting Service ซึ่งแม้แต่บน SQL Express ยังมีให้ใช้กัน เพียงแต่ เราต้องไป config มันให้ ทำงานกับ SharePoint ก่อน แล้วก็ยังมี Report Tool ชื่ Report Builder 2.0 มาช่วยให้เราสร้าง data report/ chart report ได้แบบง่ายๆ จริงๆแล้วเรียกว่าไม่ยากจะดีกว่า อิอิ

สิ่งที่จะต้องใช้ก็มีดังนี้

  1. Windows 2003 R2 Standard
  2. WSS3.0 SP2 + February 2010 Cumulative update (ไหนก็เตรียมแล้ว ก็ อัพเดทให้มันสุดๆ)
  3. MS SQL Server 2008 Express with advance service (2008 R2 น่าจะได้ แต่ผมยังไม่ได้ลงใหม่)
  4. MS SQL Server 2008 Reporting Services, Report Builder 2.0 April 2009
  5. Reporting Service for Sharepoint
  6. Database AdventureWork

ผมก็ให้เวลาหาของกันซักพักนะครับ สำหรับใครที่ใจร้อน วิ่งไปที่นี่ก่อนได้เลยครับผม http://msdn.microsoft.com/en-us/library/ee210649.aspx

วันนี้ต้องไปก่อนแล้วครับ แล้วพบกันใหม่ในเร็ววัน

สวัสดี

ปล จริงๆผมจะเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้มาพักใหญ่แล้วหละคับ แต่มรสุมงานเข้า (ซึ่งตอนนี้ก็เข้าอยู่) แต่ถ้าไม่เริ่มก็ไม่ได้เขียนซะทีเลยเริ่มซะดีกว่าวันละนิดวันละหน่อย

LinkedInFlipboardEmailOutlook.comPrintFriendlyWhatsAppYahoo BookmarksYahoo MessengerKindle ItGoogle BookmarksBaiduDeliciousShare

ย้าย Database SharePoint ง่ายนิดเดียว

เวลาที่เราใช้ SharePoint ไปนานๆ การเก็บเอกสารต่างๆก็คงมีมากขึ้นใช่มั๊ยครับ?  หรือตอนเราเริ่มต้นกิจการใหม่ๆ เรามีเงินน้อยสเปคเครื่องอาจจะไม่สูง แต่พอใช้งานไปเรื่อยๆ เราก็มีเงินมาจัดการเรื่อง Server ได้ สิ่งที่ผมเจอมาสดๆร้อนๆ ก็เป็นแบบนี้แหละครับ มีการซื้อเครื่อง Server มาใหม่ เพื่อนเอามาทำเป็น Databases Server โดยเพิ่มความเสถียรด้วยการวางลงใน cluster อีกทีนึง (อลังการ)  ทั้งหมดนี้ไม่ได้เกี่ยวกับผมเลย

ถ้า Database ตัวนั้นไม่ได้เก็บ Database ของแชร์พอทย์ และทีสำคัญ (แอบเผา) ผมเพิ่งรู้ก่อนวันไมเกรท วันเดียว ฮ่วย!!! ชีวิตอาภัพจริงๆ

แว๊บแรกที่ผมนึกออก ก็คือ การใช้ Backup / Restore หรือ การ ใช้ Export /Import   แต่เดี๋ยวก่อนซาร่า  นั้นหมายความว่า เราจะ Migrate แชร์พอทย์ หรือเปล่า??  แต่เราจะย้ายแต่ Database หนิ ไม่ได้ย้าย SharePoint งานเข้าสิทีนี้ ทำไงดีๆ

Google สิคับ ได้ออกมาลิงค์นึง Move all databases (Windows SharePoint Services 3.0 อ่านไปซักพัก โอ้ มันง่ายอะ ง่ายจนน่ากลัว (จิตตกว่างั้น) ถึงมันจะประหลาดๆ ในความรู้สึกไปหน่อย

สิ่งที่ผมจะต้องทำ มีแค่นี้ครับ

  1. Stop SharePoint Service ทั้งหมด รวมถึง Search และ IIS ด้วย
  2. ปล่อยให้ทีม Database ทำงานไป แล้วแค่บอกเรามาว่า ย้ายไปที่ไหน เวลาผ่านไปไวเหมือนการ์ตูน ย้ายเสร็จแล้ว
  3. ไปที่เครื่อง SharePoint (พอดีผมมีเครื่องเดียว) พิมพ์คำสั่ง CliConfg ที่ Run
  4. ก็จะมีหน้า Dialog box โผล่มาแบบนี้ ผ่างง ทำใจดีๆ เพราะใกล้จะเสร็จแล้วนะ ขอบอก
    เราก็ คลิ้กที่ TCP/IP แล้วก็กด Enable
  5. ไปที่ Tab Alias แล้วเราก็ตรวจดูว่าว่างปล่าวสะอาดตา (ซึ่งควรจะเป็นแบบนั้น) แล้วเราก็กด Add จะมีหน้าจอ โผล่ขึ้นมาให้เราใส่ค่าของ Database Server ลงไป แบบนี้
    โดยที่ NewSERVERName ถ้ามีหลาย instance ก็ใส่ instance ลงไปด้วยเช่น NewSERVERName\instance_SP เป็นต้น
  6. คราวนี้เราก็นั้่งรถไปศาลเจ้าพ่อหลักเมืองแล้วก็สักการะบูชา พอเป็นกำลังใจแล้วก็กลับมา Enable Service ต่างๆ ที่ปิดไป
  7. แชร์พอทย์ของเรา ก็จะใช้งานได้ตามปกติ

ที่ผมบอกว่าแปลกก็คือ ทำไม SharePoint ไม่มีการเก็บ ค่า connection string แบบชาวบ้านเค้า เพราะการทำแบบนี้มันไม่ค่อยยั่งยืน เนื่องจาก บางครั้งเราต้องการ control ชื่อ เครื่อง Server หรือแม้กระทั้ง Record บน DNS การทำแบบนี้ทำให้ ชื่อเก่ามันยังอยู่ ดูแล้วหงุดหงิดใจ

สวัสดี

LinkedInFlipboardEmailOutlook.comPrintFriendlyWhatsAppYahoo BookmarksYahoo MessengerKindle ItGoogle BookmarksBaiduDeliciousShare

Set Path เพิ่มความสะดวก

ความจริงเรื่องนี้ ผมตัดสินใจอยู่นานว่าจะเขียนดีมั๊ย แต่ที่ตัดสินใจเขียน เพราะว่า มันเป็นเรื่องใกล้ตัว ที่หลายๆคนมองข้ามไปครับ นั้นก็คือ การ Set Path เพื่อให้เรา สามารถเรียกใช้ execute file ได้ง่ายขึ้น คือ จากที่ไหนก็ได้ ขึ้นตอนง่ายๆ ตามนี้ครับ

  1. คลิกขวา ที่ My Computer แล้วเลือก Properties
  2. ตรงนี้ สำหรับ vista จะต้อง เลือกที่ Advance system setting แต่ถ้าเป็น windows server จะ ขึ้น dialog ของ System Properties ให้เลย แล้วก็ให้เลือก tab Advance
  3. เราจะเห็น ปุ่ม Environment Variables… ก็ค่อยๆกดลงไป (จะกดแรงๆก้อได้นะ ไม่ผิดแต่อย่างใด)
  4. จะมี dialog ใหม่โผล่มาให้เห็น คราวนี้ เราต้องตัดสินใจว่า เราจะทำใช้คนเดียว หรือว่าเผื่อแผ่ให้คนอื่น
  5. ถ้าทำใช้เองคนเดียว ให้ ดู ที่ “User variables for (user name)” แต่ ถ้าเผื่อแผ่ให้คนอื่นให้ดูที่ ที่ “System variable”
  6. เมื่อตัดสินใจได้แล้ว ให้ลองหา บรรทัด ที่ตรง ช่อง Variable เขียนว่า “PATH” หรือ “Path” ตัวใหญ่เล็กไม่เกี่ยว
  7. ถ้าเจอ ให้กด Edit ในช่อง variable value ให้ พิมพ์ “C:\Program Files\Common Files\microsoft shared\Web Server Extensions\12\BIN” ซึ่งเป็นที่อยู่ของ file stsadm.exe ที่เราต้องหากินกับมันไปอีกนาน ลงไป
  8. ถ้าไม่มี ก็กด New แล้วช่อง variable name ก็ส่งไปว่า “PATH” หรือ “Path” ก็ตามสะดวก
  9. จากนั้น กด Ok ออกมาเรื่อยๆ สามครั้ง  ถ้าเปิด dos เอาไว้ให้ปิดก่อนล้วเปิดใหม่
  10. พอเรียบร้อยแล้ว ความสบายจะมาเยือนทันที่

แบบว่าแอบอัพในเวลางาน แล้วก็ไม่ยากจนเกินไป ไม่มีรูปนะคับ ทำตามขึ้นตอนได้แน่ๆ

สวัสดี

ปล  ผมตอบ คำถามคุณ id ผ่าน entry นี้เลยแล้วกันนะครับ การที่ขึ้น error “stsadm’ is not recognized as an internal or external command, operable program or batch file.”   เพราะว่า มันหา file stsadm จากใน drive D ที่คุณ รันคำสั่ง stsadm ไม่เจอครับ ต้องทำตามด้านบนก่อน

LinkedInFlipboardEmailOutlook.comPrintFriendlyWhatsAppYahoo BookmarksYahoo MessengerKindle ItGoogle BookmarksBaiduDeliciousShare

ติดอาวุธ ให้ Document Library ด้วย SharePoint Stramit Document Library Browser

หลังจากที่ได้แนะนำ Document Library Browser ไว้ที่กระทู้ ใน Greatfriends.biz คุณ B@P แต่บังเอิญการ install แอบยากนิดหน่อย (ออกแนว IT pro) ที่ต้องใช้ command line ในการจัดการ ถ้าใครนึกหน้าตา ไม่ออก ดูรูปด้านล่างเลยครับ

WSSshowcase5
หลังจาก ที่เราไปโหลด ไฟล์ มาจาก http://spdoclibbrowser.codeplex.com/ แล้ว พอแตกไฟล์ออกมาจะเจอ ไฟล์
DocumentLibraryBrowserCab1.3.1.CAB ดังรูป
Source
เราก็ copy ไฟล์นี้ ย้ายไปที่สะดวกๆ งานนี้ผมเลยย้ายไปไว้ที่ ไดร์ฟ D ซะเลย
เสร็จแล้ว ก็เปิด commandline ขึ้นมา ด้วยการ กด Windows + R แล้ว พิมพ์ cmd แล้ว enter แล้วเราก็พิมพ์ คำสั่งลงไป แบบในรูป
stsadm -o addwppack -filename DocumentLibraryBrowserCab1.3.1.CAB -url http://wssserver:port -globalinstall

cmdLine


เหตุที่ต้องใส่ -globalinstall เพราะว่า ใน คู่มือบอกไว้ว่า ถ้าเรา install ลง GAC ก็ไม่ต้อง set อะไรใน web.config (เอาสบายเข้าว่า แหะๆ)
หลังจากนั้น ก็ ไปแอด web part ในpage ที่เราต้องการ จะเห็นว่า มี webpart เพิ่มขึ้นมาสาม รายการ
webpart
ผมมักจะใช้ อันที่วงสีแดงเอาไว้ พอแอดแล้ว ก็จะได้หน้าตาแบบนี้ ผมลองกดไปที่ link มันไม่ work แฮะ แต่ไม่เป็นไร เราก็ ไปเลือก modified share webpart แบบที่เราเคยทำก็ได้เหมือนกัน
PendingConfig
โดยจะมีสองส่วนหลัก คือ เลือกว่าจะ แสดง tree view จาก document library ตัวไหน ดังภาพ
SelectDocLib

หลังจากนั้น ก็เป็นส่วน ที่บอกว่า จะให้ มองลงไป ลึกระดับไหน ในกรณีที่เรามี folder หลาย Folder ซ้อนๆกัน  รวมถึงจัดการให้ document webpart เปลี่ยนแปลง ตาม การเลือก node บน treeview ด้วย
AttachToOtherDocLibWebpart
ก็คงประมาณนี้ครับ ที่เหลือ ก็เป็น การ config แบบเล็กๆน้อยๆ ก็ลองปรับได้ตามใจชอบครับผม หวังว่าคงตอบคำถามคุณ B@P แล้วก็เป็นประโยชน์ กับเพื่อนๆ ที่มาเล่น wss3.0 กันนะครับ
สวัสดี
LinkedInFlipboardEmailOutlook.comPrintFriendlyWhatsAppYahoo BookmarksYahoo MessengerKindle ItGoogle BookmarksBaiduDeliciousShare

สร้าง Custom List บน sharepoint : Export Excel ไปเป็น Sharepoint List

จากคราวที่แล้ว ได้ลองใช้ add-in ของ excel ในการสร้าง List บน sharepoint ไปแล้ว คราวนี้ ถ้าเกิดว่าเราไม่ต้องการ ที่จะ อัพเดท sharepoint List ด้วย excel อีกต่อไปหละ แล้วเหตุใดจึงต้องทำให้มัน sync ด้วยการเอา add in มาลงด้วย

นั่นสิ ทำไม ๆ

คิดได้ดังนั้นแล้วเราก็ มาใช้ Export feature บน excel เองเลยดีกว่า ทำตามขั้นตอนเลยครับผม

  1. เปิดไฟล์ลูกค้าขึ้นมาเหมือนเดิม
    CustomList_1
  2. เลือกข้อมูลที่ต้องการไปทำ sharepoint list แล้วไปที่ “Insert”->”Table”
    CustomList_1_2
  3. จะมี Dialog box ขึันมาถามเพื่อยืนยันเขตข้อมูลอีกครั้งถ้าใช่ก็ “OK” ถ้าไม่ใช่ ก็เลือกใหม่
    CustomList_1_3
  4. แค่นี้เราจะได้ตารางข้อมุลที่เอาไว้ทำ list ดังภาพ
    CustomList_1_4
  5. เราจะเห็นปุ่ม Export อยู่ใน Ribbon บรรจงกดลงไปแล้ว  เลือก “Export the data o sharepoint List”
    CustomList_1_5
  6. จะมี dialog box มาให้เราใส่ url ของ sharepoint site แล้วก็ ชื่อ ของ list ที่เราต้องการพร้อม คำอธิบาย อีกทั้งยังมีปุ่มออฟชันให้เลือกได้ว่า จะกำหมดให้อ่านได้อย่างเดียวหรือไม่ กรอกเสร็จแล้วก็ กด “Next” ในทันที
    CustomList_1_6
  7. หลังจากนั้นก็จะมี dialog box มาถามให้เราดู (ย้ำว่าดูอย่างเดียว ทำไรต่อไม่ได้) ว่า ชนิดข้อมูลถูกต้องหรือไม่ (ถ้าไม่ถูกก็กลับไปแก้)ให้ถูก (คือเริ่มใหม่แต่ต้นนั่นแหละ แป่วว)
    CustomList_1_7
  8. หลังจากกด “Finish” แล้ว ก็จะมี message box มาบอกว่า สร้าง sharepoint list ให้เรียบร้อยแล้ว  ถ้าอยากดูก็ไปที่ link ที่แสดง แบบนี้
    CustomList_1_8
  9. แต่ว่าไม่อยากดูตอนนี้ เลยจบแล้วครับ
LinkedInFlipboardEmailOutlook.comPrintFriendlyWhatsAppYahoo BookmarksYahoo MessengerKindle ItGoogle BookmarksBaiduDeliciousShare