Tag Archives: SharePoint Online

Upload Files ขึ้น SharePoint Online ด้วย PowerShell #2

 

จากคราวที่แล้วที่เราค้างไว้ ถึงเวลาที่เราสามารถ เชื่อมต่อกับ SharePoint Online Site ได้เรียบร้อยแล้วนะครับ

 

เราก็จะมาต่อที่ Function BulkUpload ที่เรา comment ออกไป ซึ่งในนี้ หลักง่ายๆคือเราจะอ่านไฟล์ ที่มีอยู่ใน folder ที่เราเลือกไว้

 

image

 

ในบรรทัด 43 เราะจะเห็นว่าเราใช้ cmd-let Get-ChildItem เพื่ออ่านไฟล์ทั้งหมด เก็บไว้ในตัวแปร $Files ซึ่งเป็นแบบ Object Collection แล้วเราก็ทำการ Loop หาชื่อไฟล์ที่อยู่ใน collection ส่งไป

ง่ายมั๊ยคับ ^_^

ในบรรทัด 49 เราก็ส่งค่าไปยัง fuction “UploadFile”   ซึ่งจะมีหน้าตาแบบนี้

image

อธิบายได้ตามนี้เลยครับ

10 เป็นการตรวจสอบว่ามีไฟล์นี้มีจริงๆมั๊ย (ย้ำคิดย้ำทำ เผื่อว่าเอาไปให้คนอื่นใช้ต่อแล้วเค้าไมได้ตรวจมาก่อน)

13 ประกาศ Object File ของ SharePoint

15 อ่านไฟล์ในรูปของ byte ใส่ไว้ในใน Content (เพราะว่า ใน SharePoint จะเก็บไฟล์ใน Database)

16 ใส่ชื่อไฟล์

19 หา document library ที่เราต้องการขึ้นมาใส่ไว้ใน object ชื่อ $DocsLib

21 เป็นการบอกว่าเราจะ เพิ่มไฟล์ละนะ

23-24 เป็นการ สร้างไอเท็มมาเกาะไว้กับ ไฟล์ที่เราต้องการอัพโหลด

26 หาชื่อของผมผู้ใช้ที่ login อยู่ขณะนั้น

28 – 33 อัพโหลดครับ

34 ถ้าทำงานถูกต้องใช้ function ส่งค่ากลับเป็น True.

 

ตอนนี้เราก็เข้าไปดูว่า มี Document library อยู่จริง

 

image

แล้วเราก็ Run ได้ผลแบบนี้

image

อัพเสร็จแล้ว

 

image

 

 

จบแล้วด้วยความง่ายดาย มีข้อสงสัยยังไงก็สอบถามเข้ามาได้นะครับผม

สวัสดีครับ

LinkedInFlipboardEmailOutlook.comPrintFriendlyWhatsAppYahoo BookmarksYahoo MessengerKindle ItGoogle BookmarksBaiduDeliciousShare

Upload Files ขึ้น SharePoint Online ด้วย PowerShell #1

สวัสดีครับ

หลายๆ คนอาจจะพอเคยจะได้ยินความสามารถของ PowerShell กันมาบ้างแล้ว ถ้ายังไม่เคย อืม…ไว้มาเล่าอีกทีละกันนะครับ พอดีมีโจทย์ ที่ผมเจอมาว่า ผมอยากจะช่วยผู้ใช้อัพโหลดเอกสารบางอย่างขึ้นบน SharePoint Online แต่อยากทำในตอนกลางคืน ผมก็เลยนึกถึง Power Shell ขึ้นมาได้ แต่คราวนี้ปัญหาของ SharePoint Online คือ ไม่มี คำสั่งให้อัพโหลดไฟล์

แล้วบังเอิญว่า PowerShell นั้นสามารถ Reference .NET dll เข้ามาทำงานร่วมกันได้ นั่นคือ เราสามารถใช้ คำสั่ง .net ร่วมกับ cmd-let ในการทำงาน ดูเลยดีกว่า

image

รูปแรกก็จะเป็นการ Reference .net dll เข้าไว้ใน script

image

รูปต่อมาจะเป็นการทำงานหลัก ยังไม่เกี่ยวกับการ อ่านและ upload file นะครับโดยที่

59 – 63 จะเป็นการรับค่าต่างๆ

65 – 70 เป็นการเชื่อมต่อกับ SharePoint Online site

72 ตรวจสอบว่า เชื่อมต่อได้หรือไม่

76 – 78 เป็นการเปิด Site

82 ตอนนี้ เรา comment ไว้ ก่อนแล้วลอง run  ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด จะออกมาหน้าตาแบบนี้ครับ

image 

คราวหน้าเราจะมาต่อกันในส่วนของการอ่านไฟล์และอัพโหลดเอกสารนะครับ

สวัสดีครับ

LinkedInFlipboardEmailOutlook.comPrintFriendlyWhatsAppYahoo BookmarksYahoo MessengerKindle ItGoogle BookmarksBaiduDeliciousShare

สร้าง Web Site ง่ายๆ ด้วย SharePoint Online – ตอนที่หนึ่ง setup ล้วนๆ

มาถึงของดอง เขียนค้างๆไว้ เพิ่งมีเวลาเอามาลง ฮิๆๆ  เมื่อเราพูดถึง SharePoint เรามักจะนึกถึง การใช้งาน ภายในองค์กร ที่ก่อนใช้งานจะต้องมีการ Log in ด้วย user ของบริษัท ใช่มั๊ยครับ แต่จริงๆ แล้ว เราสามารถใช้ SharePoint ทำเป็นเว็บไซต์ ให้คนทั่วไป
วันนี้ผมจะมาพูดถึงวิธี การสร้างเว็บ ด้วย Domain ของคุณเอง ด้วย SharePoint Online

สิ่งที่จะต้องมีก่อนนะครับ

  1. Domain เช่น ของผมเป็น sharepoint.in.th
  2. Account Office 365 ที่ใช้งาน SharePoint ได้
  3. สิทธิ์ในระดับ Global Administrator

 

ส่วนขั้นตอนต่างๆ  โดยสรุปก็จะเป็นดังนี้

  1. Verify Domain Name
  2. Create/ Mapped public facing website
  3. Update Website & Make it available

 

Verify Domain Name

ถ้าหาเราต้องการใช้ Domain name กับ office 365 เราต้องมาที่ Office 365 Admin Center แล้วเลือก Domains

image

จากนั้นให้กด Add Domain เราจะเห็นหน้าจอแบบนี้ ให้คลิ๊ก Start step 1

image

กรอก domain ของเราลงไป ตรงนี้ครับ ถ้าเรามีการใช้งานบริการอื่นๆเช่น Exchange Online, Lync Online ให้กรอกเป็น domain ลงไปครับ

หรือถ้ายังไม่มี Microsoft ก็แนะนำให้ซื้อกับ GoDaddy เพื่อความสะดวกในการ setup ต่อไป แต่ผมซื้อไว้แล้วผมก็กรอกเลย

image

ระบบก็จะให้เราแก้ไขค่า DNS บน Domain ของเราเพื่อยืนยันว่า เราเป็นเข้าของ Domain นั้นจริงๆ คับ แถมยังมี template ให้เราส่งไปหาผู้ให้บริการด้วย หน้าตาเป็นแบบนี้

image

หลังจากที่เราเข้าไปแก้ไข DNS แล้ว ปกติ จะต้องรอ 12-48 ชั่วโมงนะครับ (ระยะเวลารอคอยแล้วแต่ครับแต่ไม่เกินไปกว่านี้) เราก็กลับเข้ามากด “done, verify now”

image

 

…. เวลาผ่านไปไว เหมือนโกหก …..

 

image

 

เย้…. ยังครับยังไม่จบ

ต่อไปจะเป็นการ Add User เข้า Domain ซึ่ง ผมจะ บอกระบบให้ข้ามไปเพราะ public web site ไม่ต้องมี user ให้ทำแบบนี้ครับ

image

พอมาถึงหน้านี้ให้เลือกแบบผมครับ

image

ผ่านไปอีกหนึ่ง ต่อไปขั้นสุดท้ายละ

 

image

พอกดปุ๊บให้เลือกแบบนี้ครับ

ระวัง!!

สำหรับใครที่ใช้ บริการ exchange หรือว่า lync online  หน้านี้ต้องระวังนะครับ เพราะว่า ถ้าเราต้องการใช้อีเมล์ @domain.com เราจะไม่สามารถใช้ชื่อเว็บเป็น http://domain.com ได้ เราต้องใช้ชื่ออื่นๆแทนเช่น http://www.domain.com   (ขั้นตอนการใส่ domain)

image

หลังจาก ตกลงปลงใจแล้วก็ให้ กด Next

เราก็จะมาเจอหน้าที่บอกเกี่ยวกับวิธีการใช้งาน public facing website ให้ลองอ่านดูก่อนครับ

image

ในนั้นจะบอกด้วยว่า ทำเว็บให้ available online ได้ยังไง

image

จากนั้นระบบจะสอนให้เรา ไปเปลี่ยนชื่อเว็บ ของ public facing ใหม่ ซึ่งจาก ปกติ จะเป็น -public.sharepoint.com">-public.sharepoint.com">http://<tenant>-public.sharepoint.com

ให้กดผ่านไปเลย เด๋วผมจะมา เขียนไว้ตอนท้าย

image

หลังจากนั้นให้ ระบบจะบอกกับเราว่าให้ ไปเพิ่ม DNS นะ

image

 

คราวนี้ก็รอ 12-48 ชม เช่นเคย แล้วให้กลับเข้ามากด done, go check  ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด ควรจะได้หน้าจอแบบนี้ครับ

 

image

เพื่อให้แน่ใจ เมื่อเรากลับมาที่ หน้า Office 365 Admin Center แล้ว ไปที่ Domain เราควรเห็น Domain ที่เราจัดการ Active อยู่

 

image

 

คราวนี้กลับมาตอนที่เปลี่ยนชื่อ domain ของ public facing นิดนึง

จาก Topbar ด้านบนให้เราเลือก Admin แล้วก็ SharePoint

image

เราก็จะเห็น public facing ของเราให้ check box ที่หน้า url  -public.sharepoint.com">-public.sharepoint.com">http://<tenant>-public.sharepoint.com แล้ว เลือก WebSite Domains

image

เสร็จแล้วก็เลือก Domain ที่เรา setup เอาไว้

image

จบแล้วจร้า…..

 

ปล.  จริงๆ แล้ว public facing ของผมชี้ไปที่ http://online.sharepoint.in.th เพราะว่าผมต้องการใช้ @sharepoint.in.th กับ Exchange Online/ Lync Online แต่หน้าจอที่เห็นผมใช้เทคนิคนิดหน่อยครับ ฮิๆๆ

LinkedInFlipboardEmailOutlook.comPrintFriendlyWhatsAppYahoo BookmarksYahoo MessengerKindle ItGoogle BookmarksBaiduDeliciousShare