Tag Archives: wss

ย้าย Database SharePoint ง่ายนิดเดียว

เวลาที่เราใช้ SharePoint ไปนานๆ การเก็บเอกสารต่างๆก็คงมีมากขึ้นใช่มั๊ยครับ?  หรือตอนเราเริ่มต้นกิจการใหม่ๆ เรามีเงินน้อยสเปคเครื่องอาจจะไม่สูง แต่พอใช้งานไปเรื่อยๆ เราก็มีเงินมาจัดการเรื่อง Server ได้ สิ่งที่ผมเจอมาสดๆร้อนๆ ก็เป็นแบบนี้แหละครับ มีการซื้อเครื่อง Server มาใหม่ เพื่อนเอามาทำเป็น Databases Server โดยเพิ่มความเสถียรด้วยการวางลงใน cluster อีกทีนึง (อลังการ)  ทั้งหมดนี้ไม่ได้เกี่ยวกับผมเลย

ถ้า Database ตัวนั้นไม่ได้เก็บ Database ของแชร์พอทย์ และทีสำคัญ (แอบเผา) ผมเพิ่งรู้ก่อนวันไมเกรท วันเดียว ฮ่วย!!! ชีวิตอาภัพจริงๆ

แว๊บแรกที่ผมนึกออก ก็คือ การใช้ Backup / Restore หรือ การ ใช้ Export /Import   แต่เดี๋ยวก่อนซาร่า  นั้นหมายความว่า เราจะ Migrate แชร์พอทย์ หรือเปล่า??  แต่เราจะย้ายแต่ Database หนิ ไม่ได้ย้าย SharePoint งานเข้าสิทีนี้ ทำไงดีๆ

Google สิคับ ได้ออกมาลิงค์นึง Move all databases (Windows SharePoint Services 3.0 อ่านไปซักพัก โอ้ มันง่ายอะ ง่ายจนน่ากลัว (จิตตกว่างั้น) ถึงมันจะประหลาดๆ ในความรู้สึกไปหน่อย

สิ่งที่ผมจะต้องทำ มีแค่นี้ครับ

  1. Stop SharePoint Service ทั้งหมด รวมถึง Search และ IIS ด้วย
  2. ปล่อยให้ทีม Database ทำงานไป แล้วแค่บอกเรามาว่า ย้ายไปที่ไหน เวลาผ่านไปไวเหมือนการ์ตูน ย้ายเสร็จแล้ว
  3. ไปที่เครื่อง SharePoint (พอดีผมมีเครื่องเดียว) พิมพ์คำสั่ง CliConfg ที่ Run
  4. ก็จะมีหน้า Dialog box โผล่มาแบบนี้ ผ่างง ทำใจดีๆ เพราะใกล้จะเสร็จแล้วนะ ขอบอก
    เราก็ คลิ้กที่ TCP/IP แล้วก็กด Enable
  5. ไปที่ Tab Alias แล้วเราก็ตรวจดูว่าว่างปล่าวสะอาดตา (ซึ่งควรจะเป็นแบบนั้น) แล้วเราก็กด Add จะมีหน้าจอ โผล่ขึ้นมาให้เราใส่ค่าของ Database Server ลงไป แบบนี้
    โดยที่ NewSERVERName ถ้ามีหลาย instance ก็ใส่ instance ลงไปด้วยเช่น NewSERVERName\instance_SP เป็นต้น
  6. คราวนี้เราก็นั้่งรถไปศาลเจ้าพ่อหลักเมืองแล้วก็สักการะบูชา พอเป็นกำลังใจแล้วก็กลับมา Enable Service ต่างๆ ที่ปิดไป
  7. แชร์พอทย์ของเรา ก็จะใช้งานได้ตามปกติ

ที่ผมบอกว่าแปลกก็คือ ทำไม SharePoint ไม่มีการเก็บ ค่า connection string แบบชาวบ้านเค้า เพราะการทำแบบนี้มันไม่ค่อยยั่งยืน เนื่องจาก บางครั้งเราต้องการ control ชื่อ เครื่อง Server หรือแม้กระทั้ง Record บน DNS การทำแบบนี้ทำให้ ชื่อเก่ามันยังอยู่ ดูแล้วหงุดหงิดใจ

สวัสดี

LinkedInFlipboardEmailOutlook.comPrintFriendlyWhatsAppYahoo BookmarksYahoo MessengerKindle ItGoogle BookmarksBaiduDeliciousShare

ติดอาวุธ ให้ Document Library ด้วย SharePoint Stramit Document Library Browser

หลังจากที่ได้แนะนำ Document Library Browser ไว้ที่กระทู้ ใน Greatfriends.biz คุณ B@P แต่บังเอิญการ install แอบยากนิดหน่อย (ออกแนว IT pro) ที่ต้องใช้ command line ในการจัดการ ถ้าใครนึกหน้าตา ไม่ออก ดูรูปด้านล่างเลยครับ

WSSshowcase5
หลังจาก ที่เราไปโหลด ไฟล์ มาจาก http://spdoclibbrowser.codeplex.com/ แล้ว พอแตกไฟล์ออกมาจะเจอ ไฟล์
DocumentLibraryBrowserCab1.3.1.CAB ดังรูป
Source
เราก็ copy ไฟล์นี้ ย้ายไปที่สะดวกๆ งานนี้ผมเลยย้ายไปไว้ที่ ไดร์ฟ D ซะเลย
เสร็จแล้ว ก็เปิด commandline ขึ้นมา ด้วยการ กด Windows + R แล้ว พิมพ์ cmd แล้ว enter แล้วเราก็พิมพ์ คำสั่งลงไป แบบในรูป
stsadm -o addwppack -filename DocumentLibraryBrowserCab1.3.1.CAB -url http://wssserver:port -globalinstall

cmdLine


เหตุที่ต้องใส่ -globalinstall เพราะว่า ใน คู่มือบอกไว้ว่า ถ้าเรา install ลง GAC ก็ไม่ต้อง set อะไรใน web.config (เอาสบายเข้าว่า แหะๆ)
หลังจากนั้น ก็ ไปแอด web part ในpage ที่เราต้องการ จะเห็นว่า มี webpart เพิ่มขึ้นมาสาม รายการ
webpart
ผมมักจะใช้ อันที่วงสีแดงเอาไว้ พอแอดแล้ว ก็จะได้หน้าตาแบบนี้ ผมลองกดไปที่ link มันไม่ work แฮะ แต่ไม่เป็นไร เราก็ ไปเลือก modified share webpart แบบที่เราเคยทำก็ได้เหมือนกัน
PendingConfig
โดยจะมีสองส่วนหลัก คือ เลือกว่าจะ แสดง tree view จาก document library ตัวไหน ดังภาพ
SelectDocLib

หลังจากนั้น ก็เป็นส่วน ที่บอกว่า จะให้ มองลงไป ลึกระดับไหน ในกรณีที่เรามี folder หลาย Folder ซ้อนๆกัน  รวมถึงจัดการให้ document webpart เปลี่ยนแปลง ตาม การเลือก node บน treeview ด้วย
AttachToOtherDocLibWebpart
ก็คงประมาณนี้ครับ ที่เหลือ ก็เป็น การ config แบบเล็กๆน้อยๆ ก็ลองปรับได้ตามใจชอบครับผม หวังว่าคงตอบคำถามคุณ B@P แล้วก็เป็นประโยชน์ กับเพื่อนๆ ที่มาเล่น wss3.0 กันนะครับ
สวัสดี
LinkedInFlipboardEmailOutlook.comPrintFriendlyWhatsAppYahoo BookmarksYahoo MessengerKindle ItGoogle BookmarksBaiduDeliciousShare

เมื่อ SharePoint โดนป่วน จาก DCOM error

วันนี้มาถึงที่ทำงานแต่เช้า (จริงๆก็ไม่เช้าเท่าไหร่ แต่เอาเป็นว่ามาถึงก่อนที่อะไรจะสายเกินไป) และแน่นอนว่าพอเปิดเครื่องปุ๊บ ก็ต้องเปิด facebook ก่อน แป่ว ไม่ใช่ๆ เปิด intranet ที่ทำไว้เพื่อดูความสงบเรียบร้อยบางอย่าง และแล้วเรื่องที่ไม่คาดฝัน ก็เกิดขึ้น

This page has encountered a critical error. Contact your system administrator if this problem persists.

น่าน… โดนเข้าแล้ว งานเข้าแต่เช้า ไม่ต้องติดต่อแล้ว admin เพราะตูนี่แหละ admin จัดแจงเปิด Event log ดูก่อน แล้วก็ไปสะดุดตาที่ System Log มี error แบบนี้

The application-specific permission settings do not grant Local Activation permission for the COM Server application with CLSID
{61738644-F196-11D0-9953-00C04FD919C1}
to the user DOMAIN\ServiceAccount SID (S-1-5-21-1776335886-2898880088-2153249584-11406).  This security permission can be modified using the Component Services administrative tool.

อืม.. ตอนแรกอ่านไปก็งงๆ ว่า แล้วยังไง ป่อย -_-‘  มืดบอดมาก (อ้อ Log นี้เปิดจากเครื่องที่ลง sharepoint นะครับ เป็น Windows 2003 R2)

จะพึ่งใครได้ นอกจาก อากู๋  Google แล้วก็ไม่ผิดหวัง (วิธีแก้ปัญหาอยู่ ลิงค์ด้านล่าง เป็นภาษาอังกฤษนะคับ รูดเมาส์ผ่านไปได้เลย) ใครไม่ค่อยถูกกับภาษาอังกฤษ ก็ทนอ่านต่อไป

พออ่านๆ ไปแล้วก็เห็นว่าเออ ใน log พูดถึง Administrative tool แต่ด้วยความอ่อนด้อยเพราะไม่ค่อยคุ้นกับ windows server เท่าไหร่ ก็เลย ไม่เคยรู้ว่า มันมี Component Services ด้วย หึหึหึ

ว่าแล้วก็บรรจงเปิดขึ้นมา (ทำไมต้องบรรจง) แล้วก็ก๊อบ CLSID ที่ทำตัวแดงๆ ไว้  แล้วยังไงหละ

กด Windows + R  เรียก textbox เทพ ขึ้นมา ส่วนใครไม่เคยใช้มันก็คือ Start -> Run นั่นแหละ แล้วก็ ค่อยๆพิมพ์ “regedit” ลงไปในช่องกด “Ok” ใช่แล้ว ทุกๆอย่างมันควรเก็บไว้ในนี้แหละ แล้วเราก็เอา CLSID ลองค้นๆดู ก็ได้มาว่ามันคือ IIS WAMREG admin Service นั่นเอง

สงสัยเป็นเพราะเมื่อวานล้างรถ บุญเลยส่ง ให้เจอ service ตัวนี้ พอดี (ไม่เห็นจะเกี่ยวตรงไหน T T) ก้อเปิด properties ดู ไล่ทีลแท็บ (อันนี้ถึกได้) แล้วก็ไปเจอ Security เห็นมีช่องนึง บอกว่า “Lauch Activation Permission”  แล้วมันเลือกอยู่ที่ custom เรยกด edit เข้าไปดู มาถึงตรงนี้ ยอมรับว่า เดาอะ เพราะเราไม่เห็น DOMAIN\ServiceAccount อยู่ใน list แล้วด้านล่างก็มี  Local Activation พอดี เรยจัดการ add DOMAIN\ServiceAccount แล้วก็ ติ๊ก Local Activation ลงไปซะ แล้วก็ไป restart IIS service หนึ่งครับ พร้อม ภาวนา

กลับมา กลับมา กลับมา

แล้วก็ลองเข้าหน้าเว็บ intranet ใหม่ อิอิ มันมาแล้ว สบายใจ

ที่เขียนมาทั้งหมด ถ้าตัดความไร้สาระออกไป จะเหลือแค่ครึ่งเดียว และ เดี๋ยวก่อนวิธีการนี้ไม่ได้คิดเองครับ แต่ไปเจอจากที่นี่ครับ The application-specific permission settings do not grant Local Activation permission for the COM Server application with CLSID – MOSS / SharePoint 2007 Server Issues Revisited

นาย Mike ยังบอกอีกว่า วิธีการนี้ ไม่เพียงแต่ใช้แก้ปัญหาบน sharepoint เท่านั้นนะครับแต่ใช้แก้ปัญหา เวลามี DCOM error ขึ้นอยู่ใน system log ได้ด้วย

ค่อยข้างจะออก ทาง Admin/ IT Pro พอสมควร แต่ถ้าเราชาว Dev รู้ไว้บ้างก็จะดีไม่ใช่น้อย

สวัสดี

LinkedInFlipboardEmailOutlook.comPrintFriendlyWhatsAppYahoo BookmarksYahoo MessengerKindle ItGoogle BookmarksBaiduDeliciousShare

ตั้งเวลาสำรองข้อมูล กับ wss3.0

สวัสดีครับ

สำหรับคนที่ยังไม่คุ้นเคยกับการใช้งาน windows sharepoint service 3.0 (WSS3.0) ผมขอเกริ่นนำก่อนนะครับว่า WSS3.0 มีระบบการ สำรองข้อมูลมาให้ด้วยโดยจะมี wizard ง่ายๆ ผ่านหน้าเว็บ โดยมีขึ้นตอนดังนี้

  1. สร้าง shared folder รอไว้ก่อน โดยจะต้องให้สิทธิ์ ในการ write ด้วยนะคับ ถ้าจะให้ได้ แน่นอน ให้ กำหนด everyone แต่ไม่แนะนำให้ทำแบบนั้น
  2. เข้าไปที่ หน้า Central Administration ที่ แท็บ Operations ในส่วนของ Backup and Restore
  3. เลือก Perform a backup เพื่อทำการสำรองข้อมูล
  4. เลือกระดับ ที่จะสำรองข้อมูล ซึ่ง มีอยู่ สี่ระดับ ง่ายๆ คือ
    1. Farm – อาจจะมี server 1 หรือมากกว่าก็ได้ ซึ่ง backup ของ sharepoint ไม่ได้มองเป็น server แต่ดูที่ service
    2. Web Applications Collection – ซึ่ง ใน หนึ่ง colletion อาจจะมีหลาย web applicatoin ได้
    3. Web Appliction – ถ้ามองง่ายๆ คือ หนึ่ง site ครับซึ่งจะมี database content เดียวหรือมากกว่า แล้วแต่การออกแบบ แต่ชั้นนี้จะรวมถึงค่า config ของ web application ด้วย
    4. Content databaes – ในนี้จะมีแต่ ด้าต้าล้วนๆคับ
  5. พอเราเลือกได้แล้วก็กด continue to backup options
  6. จะมีช่องให้เรากรอก ข้อมูลของ path ที่เรา ทำให้ในข้อ 1. แล้วก็มีให้เลือกว่า จำสำรองแบบ สำรองทั้งหมด (full backup)  หรือ ส่วนที่แตกต่างจากการสำรองทั้งหมดครั้งล่าสุด (Differential backup) ซึ่งนั่นก็คือ ถ้าเป็นการสำรองข้อมูลครั้งแรก ยังไงก็ต้องทำ full backup ครับ
  7. หลังจากนั้นก้อให้กด OK แล้วก็รอ

แต่

เราต้องทำแบบนี้ทุกวันเหรอ?  เวลาเรา backup ส่วนใหญ่เราก็จะทำ schedule backup นี่หน่า หรือว่า wss3.0 ทำไม่ได้?

คำตอบคือ ทำได้ครับ แต่ว่าต้องทำผ่าน command line แล้วจับ commandline ไปทำ batch file (.bat) อีกที แล้วก็จัดการใช้ schedule ใน Windows เรียก batch file ให้ทำงาน โดยคำสั่งจะใช้แบบนี้

stsadm -o backup -directory \\ServerName\BackupPath\  -backupmethod full -item “Item Name

พอหลังจากเรา ทดสอบจนพอใจแล้วว่า สำรองข้อมูลถูกที่ถูกทาง เราก็จัดการสร้าง batch file ขึ้นมา มีโค๊ดด้านในดังนี้

@echo off

FOR %%A IN (%Date:/=%) DO SET Today=%%A

set LogFileName=BackupLog_%today:~0,8%.txt

rem echo %LogfileName%

echo ===============================================================

echo Back up sites for the farm to \\Servername\BackupPath\

echo ===============================================================

@echo off

stsadm -o backup -directory \\Servername\BackupPath\ -backupmethod full -item “Item Name” >> %LogfileName%

echo completed

แล้ว save เป็น FullBackup.bat เท่านี้เราก็ตั้งเวลาในการ backup แบบสบายๆ

สงสัยตรงไหนก็ถามกันมาได้นะครับ

สวัสดี

LinkedInFlipboardEmailOutlook.comPrintFriendlyWhatsAppYahoo BookmarksYahoo MessengerKindle ItGoogle BookmarksBaiduDeliciousShare

SharePoint – น่าใช้ หรือ ไว้ก่อน

หลังจากลงเรื่องเทคนิคของ sharepoint มานิดหน่อยคราวนี้เรามาดูกันในมุมของการนำไปใช้จริงบ้างครับว่า จริงๆแล้วว่าเมื่อไหร่ sharepoint ถึงจะน่าใช้ แล้วเมื่อไหร่ถึงจะเก็บมันไว้ก่อน

คงไม่พ้นที่จะต้องสมมติหละคับ ถ้าคุณอยู่ในสภาพแวดล้อม แบบนี้

  • เป็นองกรค์ ที่มี Windows เป็นเส้นเลือดของ IT บริษัท
  • ต้องการระบบที่ทำงานร่วมกับ MS Office ได้โดยไม่ต้องคิดมาก
  • มีบุคลากรอย่างน้อยหนึ่งคนสำหรับระบบนี้ พร้อมกับเวลาอีกพักใหญ่ๆ
  • ต้องการ ระบบการจัดการเอกสาร (โดยเฉพาะพวก MS Office) ที่มีระบบควบคุมเวอร์ชั่น มีการเช็คอินเช็คเอ้าท์เอกสารเพื่อนนำไปแก้ไข
  • ต้องการเว็บของ ทีมแบบง่ายๆ เพื่อแบ่งปันข้อมูล
  • อยากได้ระบบที่ได้ชื่อว่า มีคนรับผิดชอบ คือ Microsoft
  • ใช้ Sharepoint เถอะครับ เงินน้อย ใช้ windows sharepoinะ service เงินเยอะใช้ microsoft office sharepoint server (แต่ต่อไปจะกลายเป็น Microsoft Sharepoint Server เฉยๆ แล้ว เนื่องจากเริ่มดัง เลยแยกวง)

โดยการออกแบบ sharepoint ค่อยข้างจะมีครบทุกเกือบทุกอย่าง สำหรับการสร้าง intranet เล็กๆขึ้นมา แต่… ด้วยความที่มันถูกสร้างมาแบบกลางๆ แล้วก็จาก นิยามที่ใครๆ บอกว่า sharepoint ไม่ใช่ระบบสำเร็จรูป แต่เป็น ระบบกึ่งสำเร็จรูป ต่างหาก ซึ่งแน่นอนว่า ถ้ากินแบบ ไม่ใส่น้ำร้อน ก็คงขาดคุณค่าทางอาหาร แล้วก็ท้องอืด ทรมานในกาลต่อมาแน่นอน

แต่ถึงจะบอกว่า เป็นระบบกึ่งสำเร็จรูป แต่มันก็ไม่ได้ง่าย เหมือ ใส่น้ำร้อนปิดฝา แล้วรอ สามนาที เพราะว่าการที่จะ implement sharepoint ได้ค่อนข้างต้องใช้ความรุ้หลายอย่าง จนบางครั้งท้อใจว่า คิดถูกหรือผิดที่เอามาใช้

แต่อย่างไรก็ตาม ผมว่า ถ้าคุณไม่รู้จะเริ่มจากอะไร หรือว่า ไม่รู้ว่าจะหา opensource อะไรมาใช้งาน แล้วถ้ามี windows server อยู่แล้วด้วย ก็ไม่น่าจะเสียหายที่จะเอา window sharepoint service มาใช้งานนะครับ

ลองมาคุยกันครับ

สวัสดี

LinkedInFlipboardEmailOutlook.comPrintFriendlyWhatsAppYahoo BookmarksYahoo MessengerKindle ItGoogle BookmarksBaiduDeliciousShare