Category Archives: การเอาไปใช้

สร้าง report จาก external database ไม่ง้อ BDC : 2 Config Reporting Service

ทิ้งห่างจาก ตอนแรก นานเลยวันนี้ คิดงานไม่ออกแล้วก็ขอแอบมาอู้เขียนบทความนิดนึง

ก่อนอื่นต้องข้อแก้ข้อมูลเกี่ยวกับ version ของ Database ที่รองรับการทำ Integrated ระหว่าง SharePoint และ Reporting Service ก่อนนะครับว่า edition ที่รองรับ จะเริ่มต้นตั้งแต่ standard, developer, enterprise นะครับ (แต่ในภาพที่เห็นเป็น express ที่มีหน้าตาการ config เหมือนกัน)

จากคราวที่แล้ว เราเตรียมของ ไว้พร้อมแล้ว (บางคนอาจจะรอจนเบื่อแล้วก็ทำไปเรียบร้อยแล้ว อิอิ) เราก็เริ่มลงมือ ตอนลงโปรแกรมผมจะคร่าวๆนะครับ จะเน้นตอน config การใช้งาน reporting service บน sharepoint มากกว่า

  1. สมมติว่าเราใช้เครื่อง server แบบ all in one ก่อนนะครับ เครื่องเราก็เป็น window server 2003 r2 std, windows vista business windows 7 pro (ส่วน 2008 ยังไม่ได้ลอง)  OS พวกนี้คือ ที่ผมลองลงมาแล้วนะครับ อ้อ เครื่องที่ผมลอง join domain ทุกตัวนะครับ (แต่คงไม่เขียนส่วนนี้ เพราะมันหลุดออกไปไกลพอสมควร)
  2. พวก .net framework 2.0 / 3.5 ก็ลงไปไว้ก่อน
  3. Enable  IIS ก่อน  (เพราะ Reporting Service ต้องการ ใช้ด้วย WSS3.0 ก็ต้องใช้เช่นกัน)
  4. เรายังไม่ต้องลง sharepoint (wss3.0)  ให้เราลง Database server ไปก่อน SQL Server 2005 ขึ้นไป จะ Std/ Developer/ Enterprise ก็ได้นะครับ ตอนลง database เรายังไม่ต้อง config reporting service ไว้ก็ได้นะครับ ไว้ทำทีเดียว
  5. ต่อไปเราก็ลง WSS3.0 แบบ Advance โดยใช้ database เป็น ตัวที่เราลงไว้ เราก็ลงไปจน ถึง สร้าง site collection เลยแล้วกันครับให้แน่ใจว่าใช้งานได้
  6. มาถึงขั้นตอน การ config reporting service ให้ทำงานบน sharepoint แล้ว ให้ สูดหายใจลึกๆ หนึ่งที เพราะกว่าจะลงด้านบนเสร็จหมด ก็คงเกือบ สองชั่วโมงได้แล้ว
  7. ก่อนอื่น เรามา config sql reporting service ก่อน หลักใหญ่ใจความสำคัญคือ reporting service ปกติ มันจะเป็น Native mode จริงๆแล้วตอนเลือก มี ให้เลือก native mode (default) กับ sharepoint integrated โหมด แต่ผมเชื่อว่า ทุกคนคงไม่ได้เปลี่ยนอะไร เนื่องจาก next next finish มันทำให้เพลิน หรือไม่ก็ปล่อยมันผ่านๆไป เพราะ sharepoint คืออะไรก็ไม่รู้  หรือบางคนไม่เคยลง reporting  service เลยก็มี (แบบผมเพิ่งมารู้จัก ไม่นานเอง แหะๆ)
  8. หน้าตาเป็นแบบนี้คับ (อันนี้แอบ config ไปแล้วหลายครั้ง อาจจะต่างกันเล็กน้อย) ดูตามภาพเลยนะครับ (click เพื่อดูภาพเต็มขนาดใหญ่)
    ให้เรากด Change Database
    เลือก Create a new report Server database แล้วก็ next
    พอดีเครื่องผมลง SQL Server ใช้ 2 Instance ก็เลือกแล้วกด Test Connection ให้เรียบร้อย


    ใส่ชื่อ Database ที่จะสร้างใหม่เพื่อใช้กับ WSS3.0  และที่สำคัญ เลือก SharePoint Integrated Mode  และ กด Next


    ถึงตรงนี้ก็เกือบครึ่งทางแล้ว ถ้าเป็น Production server เราควรจะมี user account เพื่อมาจัดการด้วยนะครับ อันนี้เป็น Test ก็ใช้อันนี้แหละ ง่ายดี


    ตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง ถ้าแน่ใจแล้วก็กด  Next

    ระหว่างนี้ก็ออกไปกินข้าวนอกบ้าน หรือไปเที่ยวไหนไกลๆซักพัก   ไม่ใช่ละ รอแป๊บนึงครับไม่นานๆ พอเสร็จหมดแล้วก็ กด Finish


    พอมาถึงตรงนี้ ก็เป็นอันจบฝั่งการ config ตัว Reporting Service แล้วคับ เย้ๆๆๆ ครึ่งทางแล้ว ต่อไป เรามาลง Reporting Service Add-in for SharePoint กัน อันนี้ต้องโหลดมาให้ตรงกับ version ของ database ที่เราใช้นะครับ

  9. การลง Reporting Service Add-in for SharePoint ง่ายมาก คือไม่ต้อง config อะไรเลย แต่สิ่งที่ทำคือมันจะเป็นการไปเพิ่ม web part ที่เกี่ยวข้องกับ การแสดง report และ ยังไปเพิ่ม Feature บน SharePoint อีกด้วยครับ ก่อนอื่น เราก็เข้าไปหน้า Central Administration ก่อน เลย แล้วไปที่ Site Actions -> Site Settings -> Site Collection features แล้วไป Activate feature ที่ชื่อ Report Server Integration Feature
  10. เสร็จแล้วให้กลับมาหน้า Central Admin – Application Management เราจะ เห็นว่ามี section ใหม่ ขึ้นมา

  11. เข้าไปที่ Manage integration settings. แล้วนำค่า ที่ได้จาก Web Service URL ดังภาพ


  12. จากนั้นั้นก็เอาค่า URLs ที่ได้ ใส่ลงในช่อง Report Server Web Service URL โดย mode ที่ setไว้แต่แรก คือ Windows Authentication

มาถึงตอนนี้เราก็ได้จัดการ config เบื้องต้นเรียบร้อยแล้วนะครับ คราวหน้า จะมาเล่าเกี่ยวกับการสร้าง report แล้วก็การนำเสนอ report บน SharePoint ให้ฟังกัน

มีข้อสงส้ยตรงไหน ก็สามารถฝากไว้ในคอมเมนท์ หรือว่า จะไปตั้งกระทุ้ถามใน forum ก็ได้นะครับ.
สวัสดีครับผม

ปล entry นี้เขียนเสร็จกลางทาง ระหว่างนั่งเรือไปเกาะล้าน ^^

LinkedInFlipboardEmailOutlook.comPrintFriendlyWhatsAppYahoo BookmarksYahoo MessengerKindle ItGoogle BookmarksBaiduDeliciousShare

เพิ่ม Look up Column ให้กับ List และ Library ด้วยการสร้าง Site Column

สวัสดีครับ คราวนี้ขอลัดคิวเป็นการตอบคำถามคุณ korndin ก่อนเกี่ยวกับการสร้าง Look up Column เพื่อนใช้ใน custom list หรือ library ต่างๆ ที่เราสร้างใน site collection (พอดีว่าเคยทำพอดี ท่านอื่นอย่าเพิ่งน้อยใจนะครับ)

เริ่มเลยดีกว่า

ก่อนอื่นเราต้องสร้าง list ที่จะเอามาใช้เป็น Lookup ก่อน ในที่นี้ผมทำไว้ชื่อ Country Name

ต่อมา เราจะมาสร้าง Site Column กัน ก็ไปที่ Site Actions -> Site Columns (Gallery Section)

แล้วก็กด Create

ให้เราตั้งชื่อ Column ที่เหมาะสมลงไป จะเห็นว่าผมกำหนด Type เป็น Look up (information already on the site) ส่วนกรุ๊บเราจะสร้างใหม่ หรือว่าเลือก อันนี้แล้วแต่เรา

ลงมาด้านล่างอีกหน่อย ให้เราเลือก ชื่อ List ทีเราสร้างไว้แล้ว (ในที่นี่คือ Country Name) ตรง Get Information from แล้วเลือก Column ที่มีข้อมูลที่เราต้องการแสดง ซึ่งก็คือ Title  ส่วน allow multiple values คือยอมให้เลือกได้หลายๆค่า เดี๋ยวเราจะเห็นภาพตอนเราไปใช้แล้ว

มาถึงตรงส่วนที่เราจะนำมาใช้กันนะครับ ให้กลับมาที่ Document library ที่เราสร้างไว้ หน้า Document setting ให้เราเลือก add from existing site columns

พอเราเลือก Custom Column (ถ้าเราสร้างไว้ category อื่น ก็ต้องเลือกอันอื่นนะครับ)  เราจะเห็นว่า มีชื่อ Country List ที่เราสร้างไว้อยู่เราก็กด Add เข้าไป แล้วกด ok

คราวนี้พอเรา เพิ่มเอกสารลงไปใน document list อันนี้ ก็จะมี field เพิ่มให้เราเลือกดังภาพครับ (สังเกตว่าจะเลือกได้หลายค่า)

โดยสรุป การทำ site column ก็จะช่วยให้งานของเรายืดหยุ่นมากขึ้น คือถ้า list ที่เรานำมาสร้าง column มีข้อมุลเพิ่มเติม ก็จะมีผลไปกับทุกๆ library ที่มีการใช้ column นั้นครับ  ซึ่งต่างจาก column type แบบ choice ที่จะฝั่งค่า ตัวเลือกลงไปในแต่ ละ library เลย

ผมก็หวังว่าโพสนี้น่าจะพอเป็นแนวคิดและตอบคำถามคุณ korndin ไม่มากก็น้อยนะครับและก็คงจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆคนอื่นๆที่เริ่มต้นใช้ SharePoint เช่นกัน ผมต้องขอตัวไปทำงานและการบ้านก่อนแล้วนะครับผม

สวัสดีครับ

LinkedInFlipboardEmailOutlook.comPrintFriendlyWhatsAppYahoo BookmarksYahoo MessengerKindle ItGoogle BookmarksBaiduDeliciousShare

สร้าง report จาก external database ไม่ง้อ BDC : 1 ภาคเตรียมพร้อม

Feature ที่ทำให้ MOSS2007 แตกต่างจาก WSS3.0 นั้น ตัวหนึ่งคงหนีไม่พ้น BDC หรือ Business Data Catalog ที่ช่วยให้เรา สามารถนำข้อมุลที่อยู่ใน ระบบอื่น หรือฐานข้อมุลอื่นๆ มาแสดงบน SharePoint ได้ โดยหน้าตาที่ได้ก็โอเค

จริงๆแล้วในตัว WSS3.0 เองทำไม่ได้หรอกคับ แต่เนื่องจาก ไมโครซอฟต์แจกของดี ที่หายากเอาไว้ นั้นก็คือ SQL Reporting Service ซึ่งแม้แต่บน SQL Express ยังมีให้ใช้กัน เพียงแต่ เราต้องไป config มันให้ ทำงานกับ SharePoint ก่อน แล้วก็ยังมี Report Tool ชื่ Report Builder 2.0 มาช่วยให้เราสร้าง data report/ chart report ได้แบบง่ายๆ จริงๆแล้วเรียกว่าไม่ยากจะดีกว่า อิอิ

สิ่งที่จะต้องใช้ก็มีดังนี้

  1. Windows 2003 R2 Standard
  2. WSS3.0 SP2 + February 2010 Cumulative update (ไหนก็เตรียมแล้ว ก็ อัพเดทให้มันสุดๆ)
  3. MS SQL Server 2008 Express with advance service (2008 R2 น่าจะได้ แต่ผมยังไม่ได้ลงใหม่)
  4. MS SQL Server 2008 Reporting Services, Report Builder 2.0 April 2009
  5. Reporting Service for Sharepoint
  6. Database AdventureWork

ผมก็ให้เวลาหาของกันซักพักนะครับ สำหรับใครที่ใจร้อน วิ่งไปที่นี่ก่อนได้เลยครับผม http://msdn.microsoft.com/en-us/library/ee210649.aspx

วันนี้ต้องไปก่อนแล้วครับ แล้วพบกันใหม่ในเร็ววัน

สวัสดี

ปล จริงๆผมจะเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้มาพักใหญ่แล้วหละคับ แต่มรสุมงานเข้า (ซึ่งตอนนี้ก็เข้าอยู่) แต่ถ้าไม่เริ่มก็ไม่ได้เขียนซะทีเลยเริ่มซะดีกว่าวันละนิดวันละหน่อย

LinkedInFlipboardEmailOutlook.comPrintFriendlyWhatsAppYahoo BookmarksYahoo MessengerKindle ItGoogle BookmarksBaiduDeliciousShare

ติดอาวุธ ให้ Document Library ด้วย SharePoint Stramit Document Library Browser

หลังจากที่ได้แนะนำ Document Library Browser ไว้ที่กระทู้ ใน Greatfriends.biz คุณ B@P แต่บังเอิญการ install แอบยากนิดหน่อย (ออกแนว IT pro) ที่ต้องใช้ command line ในการจัดการ ถ้าใครนึกหน้าตา ไม่ออก ดูรูปด้านล่างเลยครับ

WSSshowcase5
หลังจาก ที่เราไปโหลด ไฟล์ มาจาก http://spdoclibbrowser.codeplex.com/ แล้ว พอแตกไฟล์ออกมาจะเจอ ไฟล์
DocumentLibraryBrowserCab1.3.1.CAB ดังรูป
Source
เราก็ copy ไฟล์นี้ ย้ายไปที่สะดวกๆ งานนี้ผมเลยย้ายไปไว้ที่ ไดร์ฟ D ซะเลย
เสร็จแล้ว ก็เปิด commandline ขึ้นมา ด้วยการ กด Windows + R แล้ว พิมพ์ cmd แล้ว enter แล้วเราก็พิมพ์ คำสั่งลงไป แบบในรูป
stsadm -o addwppack -filename DocumentLibraryBrowserCab1.3.1.CAB -url http://wssserver:port -globalinstall

cmdLine


เหตุที่ต้องใส่ -globalinstall เพราะว่า ใน คู่มือบอกไว้ว่า ถ้าเรา install ลง GAC ก็ไม่ต้อง set อะไรใน web.config (เอาสบายเข้าว่า แหะๆ)
หลังจากนั้น ก็ ไปแอด web part ในpage ที่เราต้องการ จะเห็นว่า มี webpart เพิ่มขึ้นมาสาม รายการ
webpart
ผมมักจะใช้ อันที่วงสีแดงเอาไว้ พอแอดแล้ว ก็จะได้หน้าตาแบบนี้ ผมลองกดไปที่ link มันไม่ work แฮะ แต่ไม่เป็นไร เราก็ ไปเลือก modified share webpart แบบที่เราเคยทำก็ได้เหมือนกัน
PendingConfig
โดยจะมีสองส่วนหลัก คือ เลือกว่าจะ แสดง tree view จาก document library ตัวไหน ดังภาพ
SelectDocLib

หลังจากนั้น ก็เป็นส่วน ที่บอกว่า จะให้ มองลงไป ลึกระดับไหน ในกรณีที่เรามี folder หลาย Folder ซ้อนๆกัน  รวมถึงจัดการให้ document webpart เปลี่ยนแปลง ตาม การเลือก node บน treeview ด้วย
AttachToOtherDocLibWebpart
ก็คงประมาณนี้ครับ ที่เหลือ ก็เป็น การ config แบบเล็กๆน้อยๆ ก็ลองปรับได้ตามใจชอบครับผม หวังว่าคงตอบคำถามคุณ B@P แล้วก็เป็นประโยชน์ กับเพื่อนๆ ที่มาเล่น wss3.0 กันนะครับ
สวัสดี
LinkedInFlipboardEmailOutlook.comPrintFriendlyWhatsAppYahoo BookmarksYahoo MessengerKindle ItGoogle BookmarksBaiduDeliciousShare

สำรองข้อมูล และ กู้กลับ ระดับ subsite ด้วย export \import

หลังจากที่คราวที่แล้วเราได้จัดการตั้งเวลาการสำรองข้อมูล wss ไปเรียบร้อย แต่จะเห็นได้ว่า การสำรองข้อมูลของ wss ด้วยคำสั่ง backup นั้นทำในระดับ site collection ซึ่งบางครั้งเราต้องการจะสำรองข้อมูล แค่ ระดับ Sub site เท่านั้นซึ่งประโยชน์ นอกจากนี้เรายังสามารถ นำไปประยุกต์ใช้ ในการ Migrate Sub Site ที่เรา สร้างขึ้น จาก Development ไป UAT และย้ายไป Production ได้ด้วย

เมื่อเห็นประโยชน์ดังนี้แล้ว จะช้าอยู่ใย มาดูกันดีกว่าว่า คำสั่งหน้า หน้าตาเป็นยังไง

คำสั่ง แรก export เพื่อสำรองข้อมูลออกก่อน

stsadm -o export -url “http://sharepoint/subsite/subsubsite” -filename “subsubsite.bak” -nofilecompression -quiet [-includeusersecurity]

โดยจากที่ผมทดลอง ควรจะใส่ -nofilecompression และ -quiet ไว้ด้วยครับ เพราะโดย default การใช้คำสั่ง export จะ บีบอัดให้ด้วยซึ่ง ขึั้นตอนการบีบอัดนี่เอง ที่จะมีปัญหา ในกรณีที่ subsite เรามี ไฟล์ขนาดใหญ่มากๆ เก็บอยู่ (ของผม user เล่น upload .iso ขึ้นไป เศร้าใจนัก) ส่วน -quite ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิ์ภาพ ในการ export ได้เร็วขึ้น เพราะไม่ต้องแสดงผล และ สถานนะการ export นั่นเอง

ส่วน -includeusersecurity  ที่ใส่ [ ] เอาไว้เพราะว่า จะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ครับ ถ้าใส่ก็จะมี  permission ต่างๆที่เราใส่ไว้ติดไปด้วย ก้อเท่านั้นเอง

ต่อเลยดีกว่า คำสั่งต่อไป import เพื่อ เอาไฟล์ ที่เรา export มาไปใช้ครับ คำสั่งก็หน้าตาแบบนี้

stsadm -o import -url “http://sharepoint/subsite/subsubsite” -filename “subsubsite.bak” -nofilecompression -quiet [-includeusersecurity]

หน้าตาเหมือนกันหยั่งกับแกะ แต่ parameter ของ -url ไม่จำเป็นต้องเป็น site เดิมก็ได้นะครับ ง่ายมาก

แต่…   ชีวิตไม่ได้ง่ายขนาดนั้นครับ ถ้าสมมติว่า ใน subsite ที่เราสำรอง มีการ install อะไรเพิ่มเติมไว้ ก็ต้องจัดการให้มีก่อนด้วยนะครับ ไม่งั้นงานอาจจะเข้าได้

รายละเอียดคำสั่ง จริงแล้วก็มีอยู่ใน MS TechNet ตามลิงค์นี้ครับ

export – http://technet.microsoft.com/en-us/library/cc262759.aspx

import – http://technet.microsoft.com/en-us/library/cc261866.aspx

วันนี้ฝากไว้เท่านี้ก่อนนะครับ เหมือนเดิมครับ สงสัยตรงไหน หรือผมเขียนแล้วงง ก็สอบถามเพิ่มเติมได้ครับผม

สวัสดี

LinkedInFlipboardEmailOutlook.comPrintFriendlyWhatsAppYahoo BookmarksYahoo MessengerKindle ItGoogle BookmarksBaiduDeliciousShare